วันเสาร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ยุทธศาสตร์พัฒนาองค์กรเพื่อการป้องกันควบคุมโรคปี ๒๕๕๕




ได้มีโอกาสเข้าร่วม สัมมนาเชิงปฏิบัติการเรื่อง“ยุทธศาสตร์พัฒนาองค์กรเพื่อการป้องกันควบคุมโรคปี ๒๕๕๕”วันที่ ๒๐-๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕ ณ โรงแรมปริ๊นพาเลซ กรุงเทพมหานคร  ซึ่งจัดโดยสำนักจัดการความรู้ ร่วมกับ  กพร.กรม กองการเจ้าหน้าที่ มีท่านรองศิริศักดิ์ วรินทราวาท เป็นประธาน และท่านก็น่ารักมากอยู่ร่วมสัมมนาตลอด ๓ วัน สคร.๕ ส่งหน่วยแนวหน้าเข้าร่วมสัมมนา ๕ คน (นิ่มนวล, อินฉัตร, นันท์นภัส, อรสา, สุจิตรา, สุนนท์ชัย) จากกลุ่มพัฒนาองค์กร(PMQA, HR, KM), งานการเงิน, งานการเจ้าหน้าที่ 
 การสัมมนาวันแรก
-  นโยบายและแนวทางการปฏิบัติงานของยุทธศาสตร์พัฒนาองค์กรเพื่อการป้องกันควบคุมโรคปี ๒๕๕๕ โดยรองศิริศักดิ์ วรินทราวาท
-  แนะนำแบบจำลอง “คลังความรู้ต้นแบบของกรมควบคุมโรค โดยสำนักจัดการความรู้ ( www.kmddc.go.th  และ www.facebook.com/kmddc)
-  แบ่งกลุ่มย่อย ๓ กลุ่ม (กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร, กองการเจ้าหน้าที่, สำนักจัดการความรู้) ในส่วนกลุ่มแรกเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องเด่นจากหน่วยงานต่างๆได้แก่ สำนักต., สคร.๓/สคร.๕/สคร.๖ สคร.๕ ได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนหมวด ๒ และหมวด ๔ สคร.๖ หมวด ๑  สคร.๓ หมวด๕  สำนักแมลงและสำนักโรคติดต่อหมวด ๔ และหมวด ๕ ซึ่งคิดว่าถ้าได้แลกเปลี่ยนกันทุกหน่วยงาน จะทำให้มุมมองในการทำงานหลากหลายมากขึ้น เพราะทุกหน่วยงานมีการดำเนินงานที่ดีในแต่ละด้าน
-    “ยุทธศาสตร์บริหารทุนมนุษย์ของภาครัฐ:ความท้าทายประเทศไทยเพื่อก้าวสู่ประชาคมอาเซียน” ในปี ๒๕๖๓ เป็นการชี้ให้เห็นการเปลี่ยนแปลงในด้านการเจริญเติบโตของ GDP และรายได้ในอาเซียนซึ่งไทยอยู่ต่ำกว่าค่าเฉลี่ย การเปลี่ยนแปลงจากประเทศเกษตรกรรมเป็นการขายศักยภาพของคน เช่น สิงค์โปด้านการลงทุน, ฟิลิปปินส์ด้านวิชาชีพพยาบาล เป็นต้น นอกจากนี้จะมีการแข่งขันด้านแรงงานสูง ส่วนกรมควบคุมโรคจะมีโอกาสด้านสุขภาพมากขึ้นเพราะจะมีโรคภัยจากประเทศเพื่อนบ้านเข้ามามากขึ้น เราจะรับมือกับภัยสุขภาพเหล่านี้ได้อย่างไร




 




 วันที่สอง การถ่ายทอดตัวชี้วัดองค์กรสู่ตัวชี้วัดบุคคลโดยอ.จ.ชัยวัฒน์ ร่างเล็ก ผอ.กองแผนงานและสารสนเทศ กรมคุมประพฤติ กระทรวงยุติธรรม
-     การถ่ายทอดเป้าหมายขององค์กรสู่บุคคลเป็นการแปลงแผนยุทธศาสตร์ไปสู่การปฏิบัติ  เครื่องมือในการแปลงคือ KPIs ซึ่งจะทำให้เกิดผลผลิตของแผนยุทธศาสตร์)
-    การกำหนด KPIs จะบ่งบอกสไตส์ขององค์กรแต่ละองค์กรได้ (Bubble organization, Aggressive organization, Conservative organization, Sustainable organization)
-    คุณสมบัติของ KPIs จะเป็นสิ่งบ่งชี้อัตลักษณ์ขององค์กร, บ่งบอกระดับความท้าทายของแผนยุทธศาสตร์, สไตส์การบริหารจัดการองค์กร, เป็นเครื่องมือที่จะนำไปสู่การปรับปรุงโครงสร้างองค์กร/การจัดสรรทรัพยากร/การจัดทำแผนความก้าวหน้าในสายอาชีพ
-    เส้นทางการถ่ายทอด KPI สู่รายบุคคล External KPIs Internal KPIs BU KPIs IPA (Individual Performance Agreement) โดยExternal KPIs ประกอบด้วยยุทธศาสตร์กระทรวงสาธารณสุข/นโยบายรมว.สธ/สำนักงบประมาณ/กพร.,  Internal KPIs ได้แก่ KPIS กรมควบคุมโรค, BU KPIs หรือ BSC KPIs ประกอบด้วย KPIs Front office and KPIs Back office) จากนั้นเป็นการฝึกปฏิบัติ
o   Workshop 1 วิเคราะห์ยุทธศาสตร์องค์กร นำ Vision, KPIS และ JOB Description ตอบคำถามทำอะไร และทำเพื่ออะไร(what/how)
o   Workshop 2 วิเคราะห์ KPIs กรมควบคุมโรค
o   Workshop 3 วิเคราะห์ KPIs เชื่อมโยงกับภารกิจหลักของหน่วยงานในสังกัด
o   Workshop 4 วิเคราะห์ IPA หน่วยงานหลัก/สนับสนุน เป็นการระบุเนื้องานไปยังกลุ่มงานต่างๆ
       - ข้อพิจารณา
o   การถ่ายระดับสู่บุคคล ควรมีการกำหนด KPIs แตกต่างตามระดับตำแหน่ง เช่น
  •  KPIs ระดับชำนาญการพิเศษวัดระดับ outcom
  • KPIs ระดับชำนาญการวัดระดับ output
  • KPIs ระดับปฏิบัติการ วัดระดับ process/input 
o   หากยุทธศาสตร์ไม่สอดคล้องกับภารกิจ ต้องปรับ JD
o   กำหนดยุทธศาสตร์ต้องสอดคล้องกับภารกิจ หากไม่มีในภารกิจจะไม่มีโอกาสขยายหน่วยงานใหม่ได้

วันสุดท้าย เรื่อง”องค์กรแห่งการเรียนรู้กรมสุขภาพจิต: แนวคิดสู่การปฏิบัติ” โดยนพ.ยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานติ์ CKO ผู้บริหารสูงสุดด้านการจัดการความรู้ กรมสุขภาพจิต
o        ยกตัวอย่างการจัดกระบวนการถอดบทเรียนน้ำท่วมเจ้าหน้าที่ของกรมที่ถูกน้ำท่วม ทำให้ทราบแนวทางในการแก้ไข การช่วยเหลือกัน/การให้กำลังใจซึ่งกันและกัน และนำไปเป็นนวตกรรม (sandwich model) เพื่อขยายผลไปยังที่อื่น
o        วิสัยทัศน์ KM กรมสุขภาพจิต พัฒนาจากแผน 10 สู่แผน 11 ในการพัฒนาขีดความสามารถของบุคลากรไปสู่การมุ่งเน้นองค์กรแห่งการเรียนรู้ (LO) เพื่อบรรลุวิสัยทัศน์/พันธกิจกรม โดยการสนับสนุนประเด็นยุทธศาสตร์กรมใน PMQA และผลักดันเป็นตัวชี้วัดทุกระดับทุกหน่วยงานในกรมสุขภาพจิต มีผู้บริหารสูงสุด-อธิบดีเป็น CEO
o   เป้าหมาย KM ใช้องค์กร, งาน และคน มาทำให้คน และองค์กรเก่งขึ้น
o   แนวคิดหลักของ CEO และ CKO
      •  ทำ KM ไม่ใช่เพื่อการดำเนินงานตามแนวทางกพร.เท่านั้น
      • ใช้ KM ไม่ใช่ทำ KM
      •  ทำ KM มุ่งเน้นเพื่อสร้างวัฒนธรรมการจัดการความรู้ในองค์กร
      •  นำ KM ไปใช้อย่างทั่วถึง และทั่วทั้งองค์กร
      •  ทำ KM ให้เนียนไปกับเนื้องาน
      •  การดำเนินงาน KM ยึดหลักการมีส่วนร่วม
      •  คนทำ KM ต้องมีความสุข
          o   แนวคิดเรื่อง KM
      • บูรณาการใช้ความรู้ เพื่อพัฒนางาน
      • ใช้ KM เพื่อเพิ่มคุณภาพงาน 
      • ใช้ KM ขับเคลื่อน พันธกิจ/ยุทธศาสตร์กร
      •  นำองค์กรสู่ LO โดยมีวิสัยทัศน์/ค่านิยม/จิตวิญญาณ ร่วม
    •  แนวคิดการจัดการความรู้ 
      • สคส. 
        • โมเดลปลาทู
        • การจัดการความรู้แบบสองวง (Tacit/Explicit)
        • โมเดลปลาตะเพียน 
      •  กพร. 
        • KMP เป็น PMQA ฉบับ Organization Learning
        • KM ให้เชื่อมโยงกับกระบวนงานสำคัญ (value chain)
        •  การเรียนรู้ข้ามหน่วยงาน
        • เชื่อมเข้ากับระบบการพัฒนาบุคลากร
        • พัฒนารูปแบบการเข้าถึงความรู้โดยเน้น IT
        • CMP
  • กลวิธี/ปัจจัยสู่ความสำเร็จ
    • กลวิธี  
      • จัดโครงสร้างองค์กร
      • หาแนวคิดที่เหมาะสม
      • กำหนดนโยบายเรื่อง KM
      •  จุดประกายขายความคิด
      • พัฒนาวิชาการ
      • เพิ่มคุณค่า เสริมความสุขใจจัดตลาดนัดความรู้ทุกปี 
    • ปัจจัยสู่ความสำเร็จ 
      • ด้านผู้บริหาร (ผู้นำ strong
      •  ด้านกระบวนการ และเครื่องมือ 
      • ด้านทีมขับเคลื่อน
  • จังหวะก้าว KM สู่ LO ของกรมสุขภาพจิต (แผน11) 
    • KM ในเชิงยุทธศาสตร์ มากขึ้น เชื่อม Value Chain (VC) – ระดับองค์กรใช้ outcome เป็นตัวตั้ง +VC
    • กำหนด Value Chain ที่จะจัดการความรู้ เน้นการพัฒนาคุณภาพงานไหนเป็นหลักในแต่ละปี (เลือก business process)
    • KM เชื่อมโยง Excellence กรมกำหนดนโยบายชัดเจน
    • KM ข้ามหน่วยงานมากขึ้น
    • พัฒนาศักยภาพ และระบบจัดการความรู้ในภาพระบบ
    •  หา best practice นำไป BMK มองใช้ K อะไรและปรับปรุงตั้งเป้าหมายจะปรับปรุงอะไร ผลลัพธ์องค์กรดีขึ้น
    • ระบบข้อมูลสารสนเทศที่จะสนับสนุนฐานข้อมูล KM ที่เข้าถึงได้ นำมาปรับปรุงงาน
    •  รวบรวมจัดระบบความรู้ต่างๆตามตัวชี้วัด ด้านประชาชน,ด้านเครือข่าย...
    •  ตั้งคณะทำงานจัดการความรู้แต่ละด้าน
    • คณะทำงาน Mapping ความรู้สำคัญที่จะช่วยให้ผลลัพธ์กระบวนการทำงานนั้นดีขึ้น
    • นำมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างหน่วยงาน ลักษณะ BMK 
 ข้อเสนอแนะ 
1.ผลักดัน PMQA เป็นเครื่องมือในการทำงานกับทุกงาน
2.เตรียมพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงด้านภัยสุขภาพในการก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในปี 2558
3.การถ่ายทอดตัวชี้วัดสู่รายบุคคลเป็นเรื่องสำคัญ และต้องทำอย่างจริงจัง เป็นการผูกโยง KPIs, JD, Competency เพราะสามารถกำหนดอัตลักษณ์/ความท้าทาย/การบริหารจัดการ นั่นคือสไตส์ขององค์กร
4.ควรต้องมีการกำหนด KPIsรายบุคคลให้ชัดเจนด้วยการชี้แจงทำความเข้าใจการถ่ายทอด KPIs แต่ละระดับให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน เพื่อใช้ในการพัฒนางาน พัฒนาคนได้จริง
 5.นำ KM มารใช้ในการพัฒนางานให้มีคุณภาพมากขึ้น และสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ในองค์กร เพื่อการก้าวไปสู่การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ (LO)


               การทำงานเชิงยุทธศาสตร์ต้องเข้าใจ KPIs อย่างลุ่มลึก และ full option จึงจะทำให้การทำงานบรรลุภารกิจ และวิสัยทัศน์ได้ ก็หวังว่าเราทั้งหลายคงอยากเห็นองค์กรของเราเป็นแบบ Sustainable organization (ท้าทาย และพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา) แต่ก็ต้องเปิดใจยอมรับการเปลี่ยนแปลง ยอมรับกฎ กติกา เข้าใจ ปฏิบัติ ยืดหยุ่นผ่อนปรน และบูรณาการการทำงานระหว่างยุทธศาสตร์ต่างๆให้ได้อย่างเหมาะสม และลงตัว
  
 เก็บมาฝาก


วันจันทร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ก้าวใหม่ไปกับ PMQA สคร.5



  
ผ่านมา ๔ เดือนเศษๆของปีงบประมาณ  ๒๕๕๕ เร็วเหมือนจรวด ไวปานวอก อะไรประมาณนั้น แต่ก็พยายามก้มหน้าก้มตาทำงานอย่างหนักมาโดยตลอด เริ่มจาก PMQA สัญจร ใช้เวลาเดือนเศษๆ และก็มีงานเข้ามาเป็นระยะๆ ที่มากคืองานประชุม วันละ ๒ ประชุมก็มี ต่อด้วยงานใหญ่เทอญพระเกียรติ์ ร่วมไปกับการเปิดชมรมจริยธรรม และบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ถวายเป็นพระราชกุศลด้วยการกวาดลานวัดที่วัดศาลาลอย,  จัดประชุม OD ที่เน้นพัฒนาตนเอง ให้เกิดการพัฒนางานให้มีคุณภาพ, การจัดงานปีใหม่ที่ใช้เวลาเตรียมงานน้อยมาก ต้องร่วมกันหลายฝ่าย และบางฝ่ายก็ไม่อยากจะร่วมก็มี ได้นำเงินในโครงการบางส่วนและเงินจากการรำวงย้อนยุค และออกบู๊ธ ISMART ทำกิจกรรมร่วมกับชุมชน มีการแข่งกีฬาระหว่างเจ้าหน้าที่กับชาวบ้าน, แจกอุปกรณ์การเรียน/สบทบทุนสร้างอาคารในเรียนในวันเด็ก, จัดไหว้พระ ๙ วัดที่สระบุรี, กิจกรรมบุญต่างๆ (กฐิน, ผ้าป่า, ทำหนังสือ, ฟังเทศน์, สวดมนตร์ทำวัตรเย็นนั่งสมาธิ), การจัดประชุมการถ่ายทอดตัวชี้วัดลงรายบุคคล ๒ ครั้ง, สคร.7 และ8 ดูงาน PMQA สุดท้ายคือการไปดูงานที่อุบล ถือโอกาสทำบุญถวายเครื่องกันหนาวพระสงค์/ไหว้พระ/ทำบุญ และแถมด้วยการส่งขวัญย้ายไปสคร.๗ อุบล ทุกกิจกรรมนำโดยท่านผอ.สคร.๕ นพ.ธีรวัฒน์ วลัยเสถียร ซึ่งนับเป็นแบบอย่างที่ดีของผู้นำ ทั้งสมถะ เรียบง่าย และพอเพียง
  ผ่านจนมาถึง ณ ตอนนี้ทำให้ได้รู้ได้เห็นอะไรที่ไม่เคยพบเคยเจออยู่ตลอดเวลา ปกติจะทำงานอยู่ในห้องเล็กๆไม่กี่คน ง่วนอยู่กับข้อมูล และระบบไอที พอได้รับโอกาสให้ทำหน้าที่เพิ่มขึ้น ต้องรับงานเพิ่มอีกหลายงาน แต่ด้วยความที่เป็นคนทำงานแบบไม่ค่อยมีเงื่อนไข มีเงินไม่มีก็ทำได้ เพราะคิดว่าเงินไม่ใช่ปัจจัยหลักในการทำงาน เงินเดือนหลวงก็จ่ายให้อยู่แล้วถึงแม้เงินเดือนจะเต็มเพดานแล้วก็ตาม นอกจากนี้ยังต้องใช้หลักการยืดหยุ่นผ่อนปรนค่อนข้างมาก แต่บางอย่างถ้าเสียหลักการก็ยอมไม่ได้เหมือนกัน ท่ามกลางการปรับเปลี่ยนโครงสร้าง และผู้บริหารคนใหม่ ก็ทำให้อะไรๆยังไม่เข้าที่เข้าทางนัก และปัญหาที่แต่ละคนช่วยกันสร้างสมกันมาอย่างยาวนานก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่ง ทุกวันนี้หวังเพียงว่าทุกคนต้องร่วมแรงร่วมใจกันทำให้องค์กรอยู่รอดปลอดภัยภายใต้การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วอีกด้วย โดยส่วนตัวมีอายุการทำงานนานกว่า ๓๐ ปี พบเจออะไรมาเยอะมาก คิดว่าเพียงพอแล้วกับชีวิตการทำงานที่จะต้องต่อสู้ดิ้นรนที่เหลือคือกำไร และจะทำประโยชน์ให้แก่องค์กร สังคม เพื่อส่งผลถึงประเทศชาติได้อย่างไร ให้สมกับเป็นข้ารองพระบาท และกินเงินเดือนภาษีของประชาชน แต่ถ้าเห็นว่าไม่เป็นอย่างที่คาดหวังก็น่าจะต้องพิจารณาตัวเอง
ทุกวันนี้ภัยพิภัยจากภัยธรรมชาติเกิดขึ้นบ่อยครั้งมาก ที่ไม่เคยคาดคิดมาก่อนก็เกิด สิ่งเดียวที่คิดว่าจะทำให้รอดพ้นทุกข์ภัยหรือถ้าเจอก็ขอให้หนักกลายเป็นเบา และผ่านพ้นไปได้ด้วยดี คือการมุ่งทำแต่ความดี มองทุกคนเป็นเพื่อนร่วมทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ ตาย รู้สึกดีๆต่อกัน ช่วยเหลือเกื้อกูลกันตามสมควร ดูแลรักษากายจิตด้วยการควบคุมตัวเองให้อยู่ในศีลในธรรม ไม่เบียดเบียนตัวเองและผู้อื่น โดยไม่เอาตัวเองเป็นศูนย์กลาง เราคงไม่สามารถเปลี่ยนแปลงอะไรใครได้ นอกจากตัวของเราเอง ขอความสงบสุขจงเกิดขึ้นแก่สังคม ประเทศชาติ และโลก ด้วยการแบ่งปันและอยากให้ผู้อื่นมีความสุขด้วยความเมตตา กรุณา...และเปลี่ยนจากผู้รับมาเป็นผู้ให้น่าจะเป็นทางออกที่ดีที่สุด...

    ภาพกิจกรรม :
http://www.dpck5.com/Pic-Activity/54-DPC7-2Dec/myalbum.htm
            http://www.dpck5.com/Pic-Activity/54-Integrity9Temple-9Dec54/myalbum.htm
http://www.dpck5.com/Pic-Activity/54-IndividualDevelopment-1-14-15Dec54/myalbum.htm
            http://www.dpck5.com/Pic-Activity/54-IndividualDevelopment-2-20-21Dec54/myalbum.htm
            http://www.dpck5.com/Pic-Activity/54-IndividualDevelopment-3-22-23Dec54/myalbum.htm          
            http://www.dpck5.com/Pic-Activity/55-DPC8-10Jan55/myalbum.htm
            http://www.dpck5.com/Pic-Activity/55-DPC5NewYear-6Jan55/myalbum.htm
http://www.dpck5.com/Pic-Activity/55-Child-13Jan55/myalbum.htm
http://www.dpck5.com/Pic-Activity/55-MOU&PMS-19Jan55/myalbum.htm
  ก็บมาฝาก : คนเรามักคิดถึงการชนะคนอื่น จนมองข้ามการชนะใจตนเอง แต่ถ้าอยากจะชนะใจตนเองได้ก็ต้องวางความคิดที่จะชนะผู้อื่นเสียก่อน - พระไพศาล วิสาโล